วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่13


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

  วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันอังคาร  ที่  11 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13  เวลา12.20-15.00 น. กลุ่ม101 ห้อง 234


      ความรู้ที่ได้รับ

       วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

    วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ

  1. เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้  (สำคัญมาก)
  2. เพื่อให้บิดามารดามีความรู้ และนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บุตร
  3. เพื่อให้บิดามารดามีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุตร


   เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
  1. เป้าหมายทั่วไป เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้  
  2. เป้าหมายเฉพาะ เพื่อให้พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น และแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

 ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ
  1. พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การอ่าน คณิตศาสตร์และภาษาดีขึ้น
  2. สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
  3. สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
  4. ลดปัญหาพฤติกรรม ลดผลของความพิการ
  5. คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น



      Down’s Syndrome  ดาวน์ซินโดรม  Cick


  1. เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)



     Autistic  ออทิสติก  Cick


    แนวทางการดูแลรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ
  1. ส่งเสริมความเข็มแข็งครอบครัว  - ไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่งแต่เป้นหน้าที่ทุกคน
  2. ส่งเสริมความสามารถเด็ก - มุ่งเสริมความสามารถที่เด็กมีควบคู่ไปด้วย
  3. พฤติกรรมบำบัด - หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา สร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ
  4. ส่งเสริมพัฒนาการ - ยึดหลักและลำดับขั้นของเด็กปกติ
  5. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ - การสื่อความหมายทดแทน
  6. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา - แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
  7. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม - การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน
  8. การรักษาด้วยยา - เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ ไม่อยู่นิ่งหุนหันพลันแล่น
  9. การบำบัดทางเลือก - การสื่อความหมายทดแทน (AAC)  & ดนตรีบำบัด (Music Therapy)



    การสื่อความหมายทดแทน  (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

 โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) เช่น



     




สรุปเป็น Mind Map ดังนี้


         การนำไปใช้
  1. ส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างถูกวิธี
  2. เรียนรู้เทคนิคในการบำบัดเด็กพิเศษอย่างถูกวิธี
  3. การให้กำลังใจพ่อแม่เด็กเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
     
      ประเมิน

    อาจารย์ 100% เข้าสอนตรงเวลา สื่อการสอนทันสมัยเนื้อหาความรู้เข้าใจง่ายมีการให้คำแนะนำตลอด

    ตนเอง 100%  แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึก ตั้งใจฟัง

   เพื่อน 100% แต่งกายเรียบร้อย เข้าตรงเวลา ตั้งใจฟัง




      

ครั้งที่12


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

  วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันอังคาร  ที่  4 พฤศจิกา  พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12  เวลา12.20-15.00 น. กลุ่ม101 ห้อง 234



          ความรู้ที่ได้รับ

                        วันนี้อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบกลางภาคและบอกคะแนนสอบ


                                    
  
   

           วันนี้อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบและอธิบายเกี่ยวกับคำตอบในแต่ละข้อทำให้เรารู้ว่าคำตอบที่เราได้

ตอบไปนั้นข้อไหนถูกข้อไหนผิด ส่วนเรื่องคะแนนสอบอาจไม่เป็นที่น่าพึงพอใจเท่าที่ควรแต่จะพยายาม

ให้มากขึ้นในครั้งต่อไป
                                                             

       ประเมิน 

   อาจารย์ 100% อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเฉลยข้อสอบพร้อมอธิบายรายละเอียดในคำตอบ

แต่ละข้ออย่างชัดเจนและให้กำลังใจนักศึกษาในการทำข้อสอบครั้งต่อไป

   ตนเอง 95%  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย คะแนนสอบยังไม่ดีเท่าที่ควร ควรอ่านหนังสือให้

มากกว่านี้จำคำศัพท์ภาาาอังกฤษให้แม่นยำมากกว่านี้ อย่าลังเลเปลี่ยนคำตอบบ่อยต้องมีความมั่นใจใน

คำตอบ

     เพื่อน100 %  ทุกคนคะแนนออกมาค่อนข้างดี มีการเตรียมตัวกันมาอย่างดี เวลาอาจารย์เฉลยคำ

ตอบก็มีการแสดงความคิดเห็นร่วมด้วย

                   

                         


ครั้งที่ 11




บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

  วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันอังคาร  ที่  2ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11  เวลา12.20-15.00 น. กลุ่ม101 ห้อง 234


สอบกลางภาค





         ประเมินตนเอง


         อาจารย์ 100% ข้อสอบตรงกับเนื้อหาที่อาจารย์ได้แจ้งไว้เนื้อหาข้อสอบมีความยากตรงคำศัพท์

         ภาษาอังกฤษ

     ตนเอง  95 %  เข้าสอบตรงเวลา เตรียมตัวอ่านหนังสือมาเป็นอย่างดี แต่จำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่

ค่อยได้สับสนเกี่ยวกับคำทำให้ไม่มีความมั่นใจเมื่อเจอข้อสอบที่เป็นภาษาอังกฤษทำให้มีการลบแก้ไข

บ่อยไม่มั่นใจในคำตอบที่เป็นภาษาอังกฤษ

     เพื่อน  100%   ทุกคนมีการเตรียมตัวในการสอบมากันค่อนข้างดีเมื่อเข้าห้องสอบทุกคนมีอาการตื่น

เต้นในเรื่องข้อสอบเมื่ออาจารยืแจกข้อสอบทุกคนได้ตั้งใจทำอาจมีบางคนยุกยิกไปบ้าง


     
      
     


ครั้งที่10


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

  วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันอังคาร  ที่  21ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 10  เวลา12.20-15.00 น. กลุ่ม101 ห้อง 234


       ความรู้ที่ได้รับ

             วันนี้เรียนประเภทเ็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)


  1. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)   Cick

  •  ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
  • ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
     เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders) Cick
  •     Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
  •     Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
  •     Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
    2.   เด็กพิการซ้ำซ้อน  (Children with Multiple Handicaps)  Cick

  
 
                                                                   สรุปเป็น Mind Map


       การนำไปใช้

  1.  เข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กพิเศษกลุ่มนี้มากขึ้น
  2. รู้วิธีและเทคนิคในการสอนและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กประเภทนี้

     ประเมิน

    อาจารย์ 100% เข้าสอนตรงเวลา มีสื่อการสอนครบถ้วน มีคำแนะนำที่เข้าใจง่าย

    ตนเอง 100%  เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึก แต่งกายเรียบร้อย

    เพื่อน 100%  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟัง แต่งกายเรียบร้อย




             

lk
 

c






วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

  วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันอังคาร  ที่  14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9  เวลา12.20-15.00 น. กลุ่ม101 ห้อง 234


        ความรู้ที่ได้รับ

                 วันนี้เรียนเรื่อง ประเภทของเด็กที่มีความต่้องการพิเศษ (ต่อ)

  1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  (Children with Learning Disabilities)  
          เรียกย่อๆว่า LD (Learning Disability)  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง    Cick

    2.  เด็กออทิสติก  (Autistic)   คำนิยาม : ไม่สบตา  ไม่พาที  ไม่ชี้นิ้ว   ออทิสติกเป็นตลอดชีวิตรักษาไม่

        หายแต่สามารถส่งเสริมให้ดีได้    Cick



                                                          สรุปเป็น Mind map




  

        การนำไปใช้

  1. สามารถนำความรู้ที่ได้รับวันนี้ไปใช้ในการออกฝึกสอน เช่น เด็กออทิสติกมีอารมณ์ที่รุนแรงได้ว่าเราควรมีสติอยู่เสมอเมื่ออยู่กับเด็ก
  2. สามารถนำข้อแนะนำส่งเสริมไปใช้ในการสอนในห้องเรียนหรือแนะนำผู้ปกครองของเด็กได้

       ประเมินตนเอง

      อาจารย์ 100%  เข้าสอนตรงเวลา ให้คำแนะนำปรึกษา มีสื่อการสอนที่ครบถ้วน

      ตนเอง 95%  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจมีคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย มีการจดบันทึก

       เพื่อน 95%  เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึก ตั้งใจฟัง แต่อาจมีบางคนคุยบ้างเล็กน้อย


              

ครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

  วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันอังคาร  ที่  7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 8  เวลา12.20-15.00 น. กลุ่ม101 ห้อง 234



             สอบกลางภาคของมหาวิทยาลับราชภัฏจันทรเกษม


   


ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

  วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วันอังคาร  ที่  30 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 7 เวลา12.20-15.00 น. กลุ่ม101 ห้อง 234


         ความรู้ที่ได้รับ

                     วันนี้ได้เข้าฟังสัมนาในหัวข้อ   "จิตอาสาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง"

                                              วิทยากรโดย (พี่ปอ)  ทฤษฏี  สหวงษ์